Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.
ประวัติวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต เป็นสถานศึกษาเก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2483 โดยใช้ชื่อว่า ” โรงเรียนช่างตัดเสื้อภูเก็ต ” ตั้งอยู่ที่ บริเวณวัดพุทธมงคลนิมิตร ถนนเยาวราช ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต สอนวิชาตัดเย็บเสื้อผ้าโดยเฉพาะ และดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน ดังความเป็นมา ดังนี้
พ.ศ. 2489 | กรมอาชีวศึกษาได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ทั่วราชอาณาจักรและได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “โรงเรียนการช่างสตรี ภูเก็ต” หลักสูตร 2 ปี และได้เพิ่มวิชาการฝีมือ เย็บปักถักร้อย ดอกไม้สด ดอกไม้แห้ง และวิชาการด้วย |
พ.ศ. 2496 | ขยายหลักสูตรการช่างสตรี ชั้นมัธยมปลายเพิ่มเวลาเรียน 3 ปี กับ 5 ปี โดยเพิ่มภาควิชาการ คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย คำนวณ ศีลธรรม และพละ ภาควิชาชีพ คือ เย็บปักถักร้อย การครัว ดอกไม้ ละวิชาเลือก |
พ.ศ. 2498 | ได้งบประมาณจากกรมอาชีวศึกษาให้สร้างอาคารเรียน 1 หลัง เป็นเงิน 600,000 บาท ทำการปลูกสร้างติดกับวัดพุทธมงคลนิมิตร |
พ.ศ. 2499 | ทางโรงเรียนได้รับนักเรียนประจำ (กินนอน) นักเรียนประจำส่วนใหญ่มาจากจังหวัดใกล้เคียง ในปีแรกมีนักเรียนประจำเพียง 5 คน ปีที่สอง 15 คน และค่อย ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นเป็นลำดับ โรงเรียนมิได้มีงบประมาณสร้างหอพักจึงต้องอาศัยอาคารเรียน เป็นหอพักนักเรียนประจำ |
พ.ศ. 2502 | ทางโรงเรียนได้รับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และรับเฉพาะนักเรียนที่สำเร็จ การศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ป.7 เข้าเรียนในอาชีวศึกษา ชั้นต้นปีที่ 1) |
พ.ศ. 2503 | ขยายหลักสูตรการศึกษาเป็นอาชีวศึกษาชั้นสูงหลักสูตร 3 ปี โดยรับ นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นต้น ปี 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ (มศ. 3) |
พ.ศ.2505 | ทางโรงเรียนได้งดรับนักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ป.7 ) เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อาชีวศึกษาชั้นต้นปีที่ 1 |
พ.ศ.2506 | ทางโรงเรียนได้เปลี่ยนจากอาชีวะชั้นสูงเป็นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีนี้จำนวนครูและนักเรียนได้เพิ่มขึ้น ทางโรงเรียนได้งบประมาณจากกรม อาชีวศึกษาให้สร้างบ้านพักครู เป็นเงิน 400,000 บาท และในปีนี้เอง โรงเรียนได้เข้าอยู่ในโครงการยูนิเซฟ |
พ.ศ. 2507 | มีการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาใหม่เป็นแบบวิชาเอกและวิชารอง โดยวิชาเอกมีผ้าและการตัดเย็บ อาหารและโภชนาการ หัตถกรรม และวิชารองมีเสริมสวย พิมพ์ดีด ศิลปะไทย เป็นต้น เมื่อโรงเรียนอยู่ ในโครงการยูนิเซฟก็ได้รับการสนับสนุนด้านอุปกรณ์การเรียนการสอนมากขึ้นทำให้โรงเรียนเจริญขึ้น อย่างรวดเร็ว |
พ.ศ. 2514 | โรงเรียนได้เปิดสอนวิชาประเภทพาณิชยกรรมขึ้นอีกประเภทหนึ่ง |
พ.ศ. 2516 | ได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนการช่างสตรีภูเก็ตมาเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาภูเก็ต |
พ.ศ. 2519 | ได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนอาชีวศึกษาภูเก็ตมาเป็น วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต โดยรวมกับ โรงเรียนเทคนิคภูเก็ต |
พ.ศ. 2520 | กรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาบัญชี สาขาผ้าและเครื่องแต่งกาย และสาขาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป |
พ.ศ. 2521 | กรมอาชีวศึกษาได้แยกวิทยาลัยออกเป็น 2 แห่ง คือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ตและวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต ในปีนี้วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ตได้ย้ายมาอยู่ที่บริเวณสะพานหินใกล้สถานีวิทยุ สทร.3 (จนปัจจุบัน) |
พ.ศ. 2524 | กรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ เทคนิค (ปวท.) สาขาธุรกิจโรงแรม |
พ.ศ. 2527 | กรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง (ปวส.) สาขาธุรกิจ การค้าต่างประเทศ สาขาอาหารและโภชนาการและหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกศิลปะประยุกต์ |
พ.ศ. 2528 | กรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) สาขาการบัญชี |
พ.ศ. 2530 | กรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว |
พ.ศ. 2531 | กรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว |
พ.ศ. 2532 | กรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้ดำเนินโครงการหลักสูตรระยะสั้นวิชาการ โรงแรมและ การท่องเที่ยว 6 เดือน โดยความร่วมมือระหว่างสถาบัน ฝึกอบรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวบางแสน ชลบุรี กับวิทยาลัยซึ่งในรุ่นแรกได้เปิดอบรมในสาขาวิชาการโรงแรม 2 แผนก คือ แผนกแม่บ้านและ แผนกบริการอาหารและเครื่องดื่ม รับผู้เข้าอบรมแผนกละ 40 คน |
พ.ศ. 2533 | กรมอาชีวศึกษาร่วมกับสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตดำเนินโครงการฝึกอบรมบุคลากร นายสมศักดิ์ ทรัพย์สุนทรกุล |
พ.ศ. 2535 | กรมอาชีวศึกษาอนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตร ปวส. แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และแผนกอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว |
พ.ศ. 2536 | ได้รับงบประมาณจากกรมอาชีวศึกษา ให้สร้างอาคารเรียน 1 หลัง (อาคาร 5) งบประมาณ 7,872,000 บาท และเงินบำรุงการศึกษา 2,628,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,500,000 บาท |
พ.ศ. 2537 | ได้รับงบประมาณก่อสร้างแฟลต 14 ยูนิต บริเวณที่ราชพัสดุ ถนนรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นเงินงบประมาณ 5,621,150 บาท |
พ.ศ. 2538 | กรมอาชีวศึกษาอนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตร ปวช. ระบบทวิภาคี คหกรรม (การโรงแรม) โดยฝึกปฏิบัติอาชีพในสถานประกอบการธุรกิจโรงแรม 5 แห่ง |
พ.ศ. 2539 | เปลี่ยนหลักสูตรระดับ ปวท. แผนกบัญชี และแผนกธุรกิจโรงแรมเป็นหลักสูตร ระดับ ปวส. และเปิดรับนักศึกษาระดับ ปวส. แผนกการตลาดเพิ่มขึ้นอีก 1 ห้องเรียน |
พ.ศ. 2540 | ได้รับงบประมาณก่อสร้าง สร้างอาคารเรียน 1 หลัง งบผูกพัน 3 ปี (พ.ศ.2540-2542) งบประมาณ 24,780,000 บาท และเปิดสอนหลักสูตร ปวส. ภาคสมทบ 5 ภาคเรียน แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ |
พ.ศ. 2541 | กรมอาชีวศึกษาอนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตร ปวส. แผนกเลขานุการ และหลักสูตร ปวส. ระบบทวิภาคี แผนกการโรงแรม |
พ.ศ. 2542 | กรมอาชีวศึกษาอนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตร ปวส. ระบบทวิภาคี สาขาวิชาเลขานุการ สาขาวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จัดตั้งห้องศูนย์เทคโนโลยีชุมชนและติดตั้งคอมพิวเตอร์ 20 เครื่อง โดยรับการจัดสรรงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวน 1,640,738.- บาท และรับการ สนับสนุนจาก คุณจุรี จั่นอัศวสุข ในการปรับปรุงห้องจำนวน 100,000 บาท |
พ.ศ. 2543 | ได้รับเลือกเป็นสถานศึกษาต้นแบบด้านคุณภาพฝีมืออาชีพ กระทรวงศึกษาธิการ สร้างศูนย์เทคโนโลยี กิจกรรมนักศึกษาชั้นเดียว 1 หลัง เป็นเงิน 650,000 บาท ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนและสหการ วิทยาลัย ติดตั้งคอมพิวเตอร์เพิ่ม จำนวน 20 เครื่อง เป็นเงิน 1,243,019 บาท ในศูนย์เทคโนโลยีชุมชน 1,550,000 บาท โดยรับการจัดสรรงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด |
พ.ศ. 2544 | พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองจำนวน 307,423 บาท |
พ.ศ. 2545 | พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองจำนวน 1,318,000 บาท โดยรับการจัดสรรงบประมาณ จากองค์การบริหารส่วนจังหวัด |
พ.ศ. 2547 | วิทยาลัยได้รับรางวัล สถานศึกษารางวัลพระราชทาน |
พ.ศ. 2548 | วิทยาลัยได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาให้เป็นสถานศึกษาต้นแบบ Super Model |
พ.ศ. 2551 | วิทยาลัยได้รับรางวัล สถานศึกษารางวัลพระราชทาน (ครั้งที่ 3) |
พ.ศ. 2552 | วิทยาลัยได้รับรางวัล สถานศึกษารางวัลพระราชทาน (ครั้งที่ 4) |
พ.ศ. 2553 | วิทยาลัยได้รับรางวัล สถานศึกษารางวัลพระราชทาน (ครั้งที่ 5) |
พ.ศ. 2554 | นักศึกษาได้รับรางวัล นักศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับปวช. และ ปวส. – นายนพพงศ์ เพ็ชรพวง ปวส.2 แผนกการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว – นายจิโรจ จันทร์เส้ง ปวช.3 แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ |
พ.ศ. 2555 | วิทยาลัยได้รับรางวัล “สถานศึกษาดีเด่น ด้านคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีการศึกษา 2555 ของธนาคารออมสิน ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา” นักศึกษาได้รับรางวัล นักศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับปวช. และ ปวส. – นายเนติพงษ์ ทองทิพย์ ปวช. แผนกวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว – นายสุวรรณ คนเรียน ปวส. แผนกวิชาอาหารและโภชนาการ |
พ.ศ. 2556 | วิทยาลัยได้รับรางวัล นักศึกษาดีเด่นด้านคุณธรรม จริยธรรม ปีการศึกษา 2556 ของธนาคารออมสิน ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา” – นายภัทรา เลียงประสิทธิ์ ปวช. แผนกวิชาอาหารและโภชนาการ นักศึกษาได้รับรางวัล นักศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับปวช. และ ปวส. – นายภัทรา เลียงประสิทธิ์ ปวช. แผนกวิชาอาหารและโภชนาการ – นายณัฐพงษ์ นาเครือ ปวส. แผนกวิชาการบริหารงานคหกรรม |
พ.ศ. 2557 | นักศึกษาได้รับรางวัล นักศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับปวช. และ ปวส. – นายบุญฤทธิ์ ป่วนฉิมพลี ระดับ ปวช. – นายไตรภพ ธรรมกุล ระดับ ปวส. |
พ.ศ. 2558 | นักศึกษาได้รับรางวัล นักศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับปวช. และ ปวส. – นายวีระยุทธ ศิริสวัสดิ์ ระดับ ปวช. 3/1 แผนกวิชาการโรงแรม – นายจิตริน ประสมวงศ์ ระดับ ปวส.2 แผนกวิชาคหกรรมเพื่อการโรงแรม |
พ.ศ. 2559 | วิทยาลัยได้รับรางวัล “รางวัลสถานศึกษาที่มีผลการประเมินศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ ระดับชาติ 5 ดาว” วิทยาลัยได้รับรางวัล “รางวัลชนะเลิศ ห้องเรียนรู้เทคโนโลยีเฉพาะทางอาชีวศึกษา ระดับชาติ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเพื่อการท่องเที่ยว แผนกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว นักศึกษาได้รับรางวัล นักศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับปวช. – นายอภิสิทธิ์ ทองขำ |
พ.ศ. 2560 | วิทยาลัยได้รับรางวัล “รางวัลชนะเลิศ องค์การมาตรฐาน ดีเด่น สถานศึกษาขนาดใหญ่ ระดับชาติ” วิทยาลัยได้รับรางวัล “รางวัลผลการประเมินศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาในสถานศึกษา ระดับ 5 ดาว” วิทยาลัยได้รับรางวัล “รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 คะแนนรวมประเภทวิชาชีพพาณิชกรรม คหกรรม ศิลปกรรม อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระดับชาติ” วิทยาลัยได้รับรางวัล “รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 คะแนนรวมการแข่งขันทักษะวิชาชีพ ระดับชาติ” นักศึกษาได้รับรางวัล “รองชนะเลิศอันดับ 1 สมาชิกดีเด่นโครงการภายใต้การนิเทศระดับชาติ” – นายธีรพงษ์ เตาะกระโทก นักศึกษาระดับ ปวส.แผนกวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว |
พ.ศ. 2561 | วิทยาลัยได้รับรางวัล “ผลการดำเนินงานของปีการศึกษา2560 เข้ารับการประเมิน ปีการศึกษา 2561 ได้รับรางวัลสถานศึกษาที่มีผลการประเมินศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาในสถานศึกษาระดับชาติ 4 ดาว” นักศึกษาได้รับการคัดเลือกเป็นเด็กและเยาวชนดีเด่นจากกระทรวงศึกษาธิการ – นายชนกันต์ สมบูรณ์นักศึกษาระดับปวช.แผนกวิชาการตลาด |
พ.ศ. 2562 | วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ได้มีการเปิดสาขาเพิ่มเติมในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 2 สาขา – สาขาธุรกิจการบิน – สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาได้รับรางวัลพระราชทาน ในระดับ ปวช. และ ปวส. – นายพุทธิพงศ์ ประทีป ณ ถลาง ระดับปวช.3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ – นายสหัสวรรษ รัตนพงษ์ ระดับปวส.2 สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว |
พ.ศ. 2563 พ.ศ.2564 พ.ศ.2565 |
วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ไดšรับรางวลัสถานศกึษารางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2563 นักศึกษารางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2563 – นายสรวิชญŤ จันทรŤสุขศรี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกวิชาการบัญชี นักศึกษารางวัลพระราชทาน
ประจำปีการศึกษา 2564 – นางสาวศิริพักตร์ ส่งเมือง นักศึกษาระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพ
(ปวช.) แผนกวิชาการจัดการ สำนักงาน นักศึกษารางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2565 –
นายนิรุจน์ รอแม
นักศึกษาระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาการโรงแรม –
นางสาวฐานิดา รัตนาถ
นักศึกษาระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ |
บทความล่าสุด
- ประกาศวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป พฤศจิกายน 20, 2024
- วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ดร.วิทยา เกตุชู ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต นายเทพบัณฑิต สิงคีบับพา รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาฯ นายเชิดชัย เตรียมเชิดติวงศ์ หัวหน้างานอาคารและสถานที่ นายศิริพงศ์ ริยาพันธ์ ผู้ช่วยหัวหน้างานอาคารและสถานที่ เข้าร่วมประชุมออนไลน์กับสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 2 และการไฟฟ้า นครหลวง พฤศจิกายน 20, 2024
- วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายเทพบัณฑิต สิงคีบับพา รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต เป็นประธานในพิธีเปิด การอบรมสอบธรรมศึกษาสนามหลวง ปีการศึกษา 2567 โดยพระอาจารย์จาก วัดวิชิตสังฆาราม-วัดควน ภูเก็ต ณ ห้องประชุมราไวย์วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต พฤศจิกายน 20, 2024
- ac2909256301.pdf พฤศจิกายน 20, 2024
- ประกาศวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต เรื่อง ประกาศผลการคัดเลือกบุคคลเพื่อเป็นลูกจ้างชั่วคราว พฤศจิกายน 19, 2024